วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


1.เคส
เคสแต่ละแบบจะมีพาวเวอร์ซัพพลายในตัวซึ่งมีกำลังไฟแตกต่างกัน เช่น 200 W, 230 W หรือ 250 W หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีอุปกรณ์ไม่มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ อย่างละตัว การ์ดจอ การ์ดเสียง ก็เลือกพาวเวอร์ซัพพลาย 230 W เป็นอย่างน้อย กำลังไฟฟ้าไม่พอ จะมีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ได้เหมือนกัน แต่การเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตต์สูงๆ ก็กินไฟมากกว่า จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อ
เคสบางแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อซีพียูบางรุ่นโดยเฉพาะ เช่นซีพียูเพนเทียมโฟร์ ไม่เช่นนั้น จะจ่ายไฟไม่พอ อาจทำให้ซีพียูเสียหายได้

ในปัจจุบันได้มีการออกแบบเคสแบบใหม่เรียกว่า ATX เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของเคส และเมนบอร์ดแบบเก่าหรือแบบ AT ปัจจุบันก็มีผู้นิยมใช้เคสแบบนี้กัน มาก เริ่มมีการนำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์เพนเทียมรุ่นหลังๆ ประมาณเพนเทียม 166 ขึ้นไป จนมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่แบบ AT มีใช้กันมาตั้งนานนม ปัจจุบันก็ยังใช้ กันอยู่ ราคาถูกกว่าเคสแบบ ATX โดยสรุปก็คือ เราอาจแบ่ง ประเภทของเคสได้เป็น 2 แบบ ATX และ AT ข้อแตกต่างของเคสที่สังเกตง่ายก็คือ ด้านหลังเคส และสาย ต่อไฟเข้า เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน เคสแบบ ATX ที่ด้านหลังพอร์ตต่างๆ เช่น พอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 หรือ Com2 จะอยู่ตำแหน่งติดๆ กัน พอร์ตต่างๆ จะอยู่ ในแนวตั้งและมีตำแหน่งเฉพาะ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนตำแหน่งได้ แต่เคสแบบ AT ตำแหน่งของพอร์ดเหล่านี้จะอยู่ในแนวนอนและ ขึ้นอยู่กับผู้ติดตั้งว่าจะติดตั้ง ตำแหน่งใด


ส่วนประกอบของเคส
สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker
3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น


2.พาวเวอร์ซัพพลาย




Power Supply




Power Supply หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของ อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง

การพัฒนาของ Power Supply

โดย Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ AT และ ATX ซึ้งสำหรับ AT เป็นแบบรุ่นเก่าที่มีสวิชปิดเปิดอยู่ที่ด้านหลัง Power Supply แต่มีปัญหาเวลาปิดเปิดที่สวิช เพราะบางครั้งอุปกรณ์ต้องการไฟจ่ายเลี้ยงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงพัฒนามาสู่ ATX ที่สามารถจ่ายไฟได้สม่ำเสมอกว่า โดย รุ่น ATX จะมีส่วนปิดเปิดต่อตรงเข้ากับเมนบอร์ดจึงทำให้ไฟที่ส่งเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังคงใช้งานอยุ่ได้รับไฟอย่างสม่ำเสมอมากกว่าแบบ AT โดยประเภท Power Supply มีรุ่นอยู่ 3 รุ่นดังนี้ ATX 2.01 แบบ PS/2 , ATX 2.03 แบบ PS/2 และ ATX 2.01 แบบ PS/3


3.ฮาร์ดิสก์

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
        ฮาร์ดดิสก์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ตอนนั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุระดับเพียงเมกะไบต์เท่านั้น ( 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1,000,000 ไบต์) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (Fixed disks) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) เป็นชื่อที่บริษัท IBM เรียกผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของพวกเขา ภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เพื่อให้มีความแตกต่างจากฟลอปปี้ดิสก์( Floppy disk) ภายในฮารด์ดิสก์ มีส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด คือ จานกลมแข็ง ซึ่งฉาบไว้ด้วยสารแม่เหล็ก
        หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี    
           มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี
          ้ - สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก 
           - สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที 
            - แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.00 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 
            - ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
         เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 10 ถึง 40 กิกะไบต์ ( 1 กิกะไบต์ = 1000 เมกะไบต์) ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป 
             เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ 
           - อัตราการไหลของข้อมูล ( Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที 
            - เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
         ภายในฮาร์ดดิสก์ วิธีดีที่สุดในการรู้จักฮาร์ดดิสก์ คือแกะออกมาดูภายในกัน ภาพล่างนี้เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เรานำมาใช้กันอยู่
         
กล่องอลูมิเนียมผนึกไว้เป็นอย่างดี โดยมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ติดไว้อยู่ที่ด้านหนึ่งของฮาร์ดดิสก์โดยแผงวงจรควบคุมนี้ จะควบคุมมอเตอร์ให้หมุน และอ่านหรือเขียนข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์
         



4.เเรม


แรม (RAM) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าให้พูดกันลอยๆก็คงคิดกันไปว่า แรม ทำให้คอมเร็วขึ้นยิ่งแรมเยอะคอมเร็วก็ยิ่งเร็ว แต่รู้หรือไม่ว่าหน้าที่จริงๆ ของแรมนั้นคืออะไร

แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที

หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะ ต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้ หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล









5.cd-dvd drive














นื้อหา   :  ซีดีรอมหากใช้ไปนานๆ อาจจะอ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง และอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเช่นกัน ซึ่งมีวิธีการแก้ไขดังนี้
1. ทำการล้างหัวอ่านซีดีรอมครับ (CD-Cleaner)
2. วิธีแรกยังไม่ได้ผล ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากการที่คุณใส่แผ่นซีดีก่อนที่โปรแกรมจะอ่านก็เป็นไปได้ครับ
3. ถ้าไม่ใช่ทั้ง 2 กรณี ก็เกิดจากหัวอ่านมีปัญหาแล้วล่ะครับ แก้ไขได้โดยวิธีปรับโวลุม VR เรียกกันว่า Variable Resister
     ซึ่งเป็นสกูที่หัวอ่านครับ เรามาเตรียมเครื่องมือกันก่อนครับ 1. ไขควงขนาดเล็ก 2. ไขควงสองแฉกหรือ สี่ แฉก
     ครับ และเครื่องซีดีรอมที่มีปัญหา
วิธีการถอดที่ยึดรางซีดี
1. ดึงรางซีดีออก
2. งัดที่ยึดรางซีดี
3. ดึงหน้ากากซีดีรอมออก โดยใช้ไขควงกดที่ยึดทั้งสี่ด้าน แล้วถอดน็อตยึดตัวถังโลหะให้หมดแล้วงัดตัวถังโลหะ
4. ถอดฝาครอบซีดีรอมออกให้หมด
5. ใช้ไขควงหมุนหัวปรับ VR ไปตามเข็มนาฬิกาประมาณ 10-20 องศา
6. หมุนเสร็จแล้วอย่าเพิ่งประกอบเข้าเครื่องนะครับ เพราะจะยังใช้งานไม่ได้อยู่ ให้คุณลองใส่แผ่นซีดีแล้วลองเปิดดูก่อนครับ     ถ้าใช้การได้แล้วจึงจะประกอบเข้าเครื่องครับ แต่ถ้ายังเปิดไม่ได้อีกก็ให้คุณหมุนต่อไปอีกสักประมาณ 3-5 องศา ครับ     และทำการทดลองจนเปิดได้เสียก่อนจึงค่อยจะประกอบเข้าเครื่องครับ



หัวข้อ : การเซตค่าให้กับ CD-Rom มีการเซตค่าอย่างไรบ้าง
เนื้อหา : การเซตค่าให้กับ CD-Rom ส่วนใหญ่ทางร้านจะทำการเซตมาให้อย่างถูกต้องแล้ว แต่เมื่อท่านได้ซื้อ
      CD-Rom มาเพื่อติดตั้งเอง ให้ท่านสังเกตุที่ตัวของ CD-Rom จะมีวิธีการเซตค่าของ Jumper เอาไว้ให้
      หรือท่านสามารถดูได้จาก คู่มือที่มากับ CD-Rom ได้เลย แต่ถ้าท่านดูแล้วยังไม่รู้ความหมายต่างๆ
     ให้ท่านยึดถือตามนี้ได้เลยครับ
1.  MA = เป็นการตั้งค่าให้ CD-Rom ตัวนี้เป็น Master หรือเป็นตัวที่ 1 ในการติดตั้งถ้าเครื่อง PC ของท่านมีสายแพ
     ที่ต่อเข้ากับ CD-Rom แยกกันกับฮาร์ดดิสก์(CD-Rom ไม่ได้ใช้สายแพเดียวกันกับ ฮาร์ดดิสก็)และท่่านมี CD-Rom
     เพียงอันเีดียว ท่านก็ควรเซตค่าให้ CD-Rom ของท่านเป็น MA เพี่อให้ระบบได้มองเห็น CD-Rom ได้เร็วและทำงานได้ดี
2.  SL = เป็นการตั้งค่าให้ CD-Rom ตัวนี้เป็น SLAVE หรือเป็นตัวที่ 2 เป็นการเซตค่าให้ในกรณีที่ท่านมี CD-Rom ที่อยู่ใน
     เครื่อง PC ของท่านเป็นจำนวน 2 ตัว ตัวแรกท่านต้องเซตค่าให้เป็น Master หรือ MA และตัวที่ 2 ท่านต้องเซตค่าให้เป็น
     SLAVE หรือ SL เพื่อเป็นการแบ่งให้ระบบได้รู้ว่ามี CD-Rom อยู่ทั้งหมด 2 ตัวไม่ทำให้เกิดความสับสน อีกกรณีก็คือใช้
     เมื่อท่านมีสายแพเพียงสายเดียวต้องใช้พ่วงทั้ง ฮาร์ดดิสก็และ CD-Rom ท่านควรเซตค่าฮาร์ดดิสก์ของท่านให้เป็น
     Master และเซตค่า CD-Rom ให้เป็น Slave ไม่ควรเซตค่าให้เป็นค่าเดียวกันจะทำให้ระบบสับสนและให้ไม่สามารถ
     Run ระบบได้
3.  CS = เป็นการตั้งค่าให้ CD-Rom เป็นแบบ Cable Select หรือ ให้ระบบเป็นตัวเลือกเองว่าจะให้ CD-Rom ตัวนี้เป็น
     MA หรือ SL ซึ่งปกติระบบก็จะเลือกจากลักษณะการต่อจากสาย Cable หรือ สายแพ ว่าจะให้เป็นแบบใด ถ้าหากท่าน
     ไม่ทราบว่า ท่านจะทำการเซตค่าให้เป็นแบบใด ท่านก็ควรเซตให้เป็นแบบ CS ได้ครับ แต่จะทำให้การทำงานไม่ดี
     เท่าทีควรครับ




หัวข้อ : แผ่นซีดีรอมเป็นรอยหรือมีคราบฝุ่นเกาะติดแผ่น จะแก้ไขอย่างไร
เนื้อหา : เนื่องจากแผ่นวีดีรอมใช้หลักการสะท้อนแสงแลเซอร์เพื่อเข้ารหัสดิจิตอล หากแผ่นเป็นรอยหรือมีคราบฝุ่นเกาะ
     ก็จะไม่สามารถสะท้อนและการรับแสงเกิดการผิดพลาดได้ครับ ดังนั้นถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นมาคุณต้องทำการล้างแผ่นซีดีรอม
     แล้วล่ะครับ ซึ่งน้ำยาล้างซีดีรอมก็มี2 ชนิดครับคุณต้องทราบก่อนว่าคุณจะทำการล้างซีดีรอมของคุณแบบใด
     ครับจึงจะซื้อน้ำยามาล้างได้ถูกต้อง
1. น้ำยาล้างซีดีรอม ใช้ในกรณีที่ซีดีรอมของคุณมีคราบและฝุ่นติดครับ วิธีการล้างก็ง่ายมากครับ
    1.1 เทน้ำยาล้างลงบนผ้าหรือแผ่นซีดีรอมที่ต้องการล้างครับ
    1.2 ใช้ผ้าถูจากศูนย์กลางออกไปรอบนอกแผนทุกด้าน
2. น้ำยาซ่อมแซมซีดีรอมใช้เมื่อต้องการที่จะซ่อมแผ่นซีดีที่เป็นรอยแต่รอยต้องไม่ลึกจนเกินไปครับถ้าลึกมากๆ
    อาจจะซ่อมลำบาก หรือซ่อมไม่ได้เลยครับส่วนวิธีการล้างก็ใช้วิธีการเดียวกันกับการล้างแผ่นซีดีรอมครับ


หัวข้อ     :ถ้ามีข้อความที่ว่า Error Reading CD-ROM in Drive D หรือ Please insert CD- ROM in drive D
เนื้อหา     :  สาเหตุเกิดมาจากโปรแกรมกำลังอ่านซีดีอยู่ แต่คุณอาจจะไปกดปุ่ม Eject ก็ได้ครับ
วิธีการแก้ไขคือ
ให้คุณกดปุ่ม Esc แล้วถ้ายังมีข้อความเป็น Please insert CD-ROM in drive D ก็แสดงว่าแผ่น CD-ROM ของคุณอ่านไม่ได้ครับ ให้คุณลองใช้น้ำยาล้างแผ่นดูครับ แต่ถ้ายังไม่ได้อีกก็ให้คุณลองล้างที่หัวอ่าน drive Dดูครับ


หัวข้อ : ถ้าแผ่่น CD-ROM ติดอยู่ในตัวไดรฟ์ไม่ยอมออกเมื่อ กด Eject จะทำอย่างไร
เนื้อหา :เมื่อท่านประสบปัญหานี้ทางบริษัทที่ทำการผลิต ตัวเครื่อง CD-ROM ก็ได้ทำวิธีการป้องกันให้ท่านไว้ล่วงหน้าแล้ว
             โดยวิธีการมีดังนี้ครับ
1.  เมื่อท่านสังเกตุที่ด้านหน้าของ CD-ROM ท่านจะเห็นรูเล็กๆ ซึ่งไม่ใช่รูสำหรับเสียบหูฟังนะครับ เ็ป็นรูเล็กพอที่จะใช้
     เข็มหรือ ลวดแหย่เข้าไปได้เ่ท่านั้น  ซึ่งตัว CD-ROM ส่วนใหญ่จะทำเอาไว้อยู่แล้วครับ
2.  เมื่อท่านเจอรูนี้แล้วให้ท่านเตรียมลวด หรือคลิบหนีบกระดาษ ก็ได้ครับ สำหรับแหย่เข้าไปที่รูที่ว่านี้ บางเครื่องอาจต้อง
     แหย่เข้าไป ลึกหน่อย แต่บางเครื่องก็เป็นปุ่มเล็กๆอยู่ด้านใน เมื่อแหย่เข้าไปโดนตัวถาดก็จะเด้งออกมาครับ


หัวข้อ : จะทำอย่างไรเมื่อต้องการเปลี่ยน CD-ROM ตัวใหม่ด้วยตัวเอง
เนื้อหา : เมื่อท่านเห็นว่า CD-Rom ของท่านมีอาการผิดปกติ อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วต้องการถอดออกมาดูอาการเอง
     ก่อนอื่นต้องขอแนะนำว่าถ้าหาก ตัว CD-Rom ของท่านยังอยู่ในช่วงประกัน ให้ท่านนำไปใ้ห้ทางร้านดูให้จะเป็นการดี
     กว่าครับ และถ้าหากไม่ได้อยู่ในช่วงประกันแล้วต้องการถอดออกมาตรวจเ็ช็กอาการต่างๆเองก็เป็นการดีครับ เพราะไม่
     ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่าด้วยครับ และถ้าท่านต้องการเปลี่ยนเป็น CD-Rom ตัวใหม่ด้วยตัวเองผมก็มีข้อ
     สังเกตุและข้อควรระวังมาฝากดังนี้ครับ
1.  เมื่อท่านต้องการเปลี่ยน CD-Rom ตัวใหม่ ท่านต้องเปิดฝาเครื่องของท่านออกก่อนแล้วสังเกตุสายแพที่ติดอยู่กับ
     CD-Rom บางเครื่องก็จะมีสายแพเพียงสายเดียว ใช้ต่อทั้ง ฮาร์ดดิสก์และ ซีดีรอม ถ้าท่านไม่คุ้นเคยกับการถอดสายแพ
     ให้ท่านสังเกตุ และจดไว้ก่อนทำการถอดแต่ละจุด ถ้าเครื่องของท่านมีสายแพ 2 สายแยกกันท่านก็สามารถถอดสายแพ
      ออกจาก ตัว CD-Rom ได้เลย และถอดสายไฟที่ติดอยู่ออก แล้วทำการขันน๊อตที่ติดอยู่ทั้งหมดออกท่านก็สามารถถอด
     ตัว CD-Rom ตัวเก่า ออกมาได้แล้วครับ
2.  ให้ทำการเซตค่า Jumper ของ CD-Rom ตัวใหม่ให้ถูกต้องครับ หรือถ้าที่ไม่แน่ใจก็ให้ท่านเซตค่าตามตัวเดิมที่ท่าน
      ถอดออกก็ได้ครับ สำหรับการเซต ค่าให้กับ CD-Rom ผมได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วครับ
3.  ข้อสังเกตุเมื่อท่านต้องต่อสายแพเข้ากับตัว CD-Rom ตัวใหม่ ให้ท่านสังเกตุตรงสายสุดท้ายที่เป็นสีแดง ซึงจะมีอยู่
     สายเดียว ที่อยู่ริมสุด ให้ท่านหันเส้นนี้เข้าหาตรงที่จุดเสียบสายไฟครับ และให้ต่อสายไฟเข้าตรงจุดต่อสายไฟโดยให้
     หันสายสีแดงเข้าหาจุดที่่ต่อสายแพซึ่งตัวต่อสายไฟนี้จะเป็นแบบกำหนดรูปเอาไว้แล้วถ้าที่ต่อผิดทางท่านก็จะไม่สามารถ
     เสียบเข้าไปได้ หรือจำกันง่ายๆ้ว่า สายแดงชนสายแดง ท่านก็จะไม่พลาดแล้วครับ
4.  เมื่อท่านได้ต่อสายแพและสายไฟเข้ากับ CD-Rom เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ขันน๊อตยึด CD-Rom เข้ากับ Case ให้เรีบยร้อย
      ปิดฝา Case ให้เรียบร้อย ท่านก็ได้ CD-Rom ตัวใหม่ไว้ใช้งานแล้วครับ



หัวข้อ : การแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ CD-Rom ด้วยตัวเอง
เนื้อหา : ปัญหาเล็กๆน้อยๆบางอย่างก็เป็นปัญหากวนใจท่านได้ อย่างเช่น การเล่นสดุด การที่ CD-Rom อ่านได้บ้าง
              ไม่ได้บ้างก็ทำท่านหงุดหงิดได้เมื่อท่านใช้งาน CD-Rom ของท่าน แต่ถ้าท่านทำการดูแลรักษาสักนิดก็เป็นการ
              ลดปัญหาเหล่านี้ได้ครับ
1.  ให้ท่านซื้อแผ่นล้างหัวอ่าน CD-Rom มาทำการล้างหัวอ่าน CD-Rom ของท่านบ้างก็จะเป็นการดีครับ
2.  มีน้ำยาทำความสะอาดแผ่น CD-Rom ไว้ใช้เช็ดหน้าแผ่น CD-Rom อยู่่เป็นประจำก็จะทำให้หัวอ่านใช้งานไ้ด้นานขี้น
3.  ใช้น้ำยาซ่อมแผ่นซีดี ทำการซ่อมแผ่นซีดีที่เห็นว่าเป็นรอย ก็จะช่วยให้หัวอ่านสามารถอ่านแผ่นได้ดีขึ้น
4.  ทำการคลุมเครื่องทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อป้องกันฝุ่นไม่ให้ไปเกาะที่หัวอ่าน
5.  ควรทำการเป่าฝุ่นที่เกาะอยู่ในเครื่อง PC บ้างก็จะเป็นการรักษาให้อายุการใช้งาน CD-Rom นานขึ้นได้ด้วยครับ
6.  หลีกเลี่ยงการใช้งานกับแผ่นที่ไม่ดี สดุดบ่อย และเป็นรอยมาก ก็จะเป็นการรักษาหัวอ่านให้ใช้งานได้นานขึ้นได้ด้วยครับ




6.เมนบอร์ด


A85F2-A-Deluxe
ECS ได้เปิดตัวเมนบอร์ดใหม่ รุ่น A85F2-Deluxe ที่ใช้ชิปเซตจาก AMD A85X เพื่อสนับสนุนซ็อกเก็ต FM2 ซีพียูใหม่ล่าสุดของเอเอ็มดี ECS A85F2-Deluxe เป็นเมนบอร์ดในรูปแบบ ATX มี PCIe x16 Gen2 สำหรับการอัพเกรดกราฟิกการ์ดและสนับสนุน CrossFireX มีพอร์ต PCIe x1 จำนวน 3 ช่อง และ PCI อีก 2 ช่องสำหรับการ์ดตัวอื่น ๆ เมนบอร์ดรองรับหน่วยความจำ DDR3 แบบ Dual-Channel มีสล๊อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ 4 สล๊อต สามารถติดตั้งหน่วยความจำได้สูงสุด 64 GB รองรับหน่วยความจำที่มีความเร็ว 1866 MHz และสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 2300 MHz เมื่อทำการโอเวอร์คล๊อก ในส่วนของ SATA มีคอนเน็คเตอร์ทั้งหมด 7 ช่องในแบบ 6 GB/s ด้วยการสนับสนุนของ RAID 0, 1, 5, และ 10
A85F2-A_Deluxe-01
A85F2-A Deluxe มีพอร์ต USB 3.0 จำนวน 6 พอร์ต พอร์ต USB 2.0 จำนวน 8 พอร์ต พร้อมด้วยพอร์ต Gigabit LAN, และ eSATA 6G/ s สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างรวดเร็ว พอร์ตสำหรับต่อจอภาพก็มีมาให้เลือกใช้อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น HDMI, DVI, DisplayPort และ D-Sub รองรับระบบเสียงแบบ 8CH HD Audio การปรับแต่งไบออสของเมนบอร์ดทำได้ง่ายในสไตล์กราฟิก uEFI BIOS กับ ECS MIB X และเปลี่ยนอินเทอร์เฟซของไบออสได้หลายภาษา
เมนบอร์ด A85F2-Deluxe มีคุณสมบัติ "Nonstop" ซึ่งหมายถึงเป็นเมนบอร์ดที่มีเสถียรภาพสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมนบอร์ดที่มีคุณสมบัติ Nonstop นี้จะมีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์คุณภาพสูงกว่าเมนบอร์ดทั่วไป

A85F2-A_Deluxe-02
A85F2-A Deluxe มาพร้อมกับซอฟแวร์ Norton AntiVirus, Muzee, Cyberlink Media Suite และโปรแกรม ECS iEZ utility ซึ่งรวมถึง eBLU BIOS Live Update Utility, the eDLU Drivers Live Update Utility and the Smart Fan Utility
นอกจากเมนบอร์ดรุ่น A85F2-Deluxe แล้วทาง ECS ยังมีเมนบอร์ดซ็อกเก็ต FM2 อีก 4 รุ่นที่จะออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ A75F2-A2, A75F2-M2, A55F2-A2 และ A55F2-M3






7.เมาส์




Mouse เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)

Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
          1. แบบทางกล
          2. แบบใช้แสง


          1. แบบทางกล
          เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของMouseและจอ ภาพ
          Ball Mouse
          มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น

          Wireless Mouse
          เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz

 Mouse สำหรับ Macintosh
          เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิ๊ก ก็ มีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น

    2. Mouse แบบใช้แสง
          อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)






8.คีย์บอร์ด 


 

คีย์บอร์ดคืออุปกรณ์รับข้อมูลที่ใช้การเรียงตัวของปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์
โดยปกติ แล้วคีย์บอร์ดใช้สำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ หรือตัวเลขเข้าไปยังโปรแกรมต่างๆ

เทคโนโลยี
-ปุ่มกด และหน่วยประมวลผลควบคุม
ปุ่มกดแบบสวิทช์รูปโดม เป็นรูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดตั้งแต่ปีค.ศ.2000 เป็นต้นมา
เมื่อ ปุ่มถูกกด มันจะไปผลักยางรูปโดมที่อยู่ด้านล่างปุ่ม ตัวเหนี่ยวนำที่อยู่ด้านล่างของโดมจะไปแตะคู่ของสายเหนี่ยวนำที่อยู่ ในวงจรด้านล่างอีกที
จะทำให้เกิดการเชื่อมระหว่างสาย เหนี่ยวนำสองเส้น ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ ในสายเหนี่ยวนำแต่ละคู่จะมีสัญญาณแสกนที่ถูกส่งออกมาจากชิพ
เมื่อ สัญญาณจากสายแต่ละคู่เปลี่ยนไป ชิพจะสร้าง “รหัสสร้าง” ขึ้นมาตอบสนองต่อปุ่มที่เป็นตัวเชื่อมสายคู่นั้นๆ เมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับสัญญาณบิทจากคีย์บอร์ด
และถอดรหัส มันออกมาเป็นปุ่มที่ถูกกดอย่างถูกต้องแล้ว คอมพิวเตอร์จะตัดสินใจว่าจะทำอะไรจากปุ่มที่ถูกกดนั้น (เช่น แสดงอักษรขึ้นบนจอภาพ)
เมื่อปุ่มถูกปล่อย “รหัสหยุด” จะถูกส่งไปเพื่อบอกว่า ปุ่มไม่ได้ถูกกดแล้ว

-รูปแบบการเชื่อมต่อ
การ เชื่อมต่อของคีย์บอร์ดผ่านสายเคเบิ้ลมีหลายรูปแบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน AT ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วย PS/2 และ USB ในปัจจุบัน

รูปแบบของคีย์บอร์ด
-คีย์บอร์ดมาตรฐาน ประกอบไปด้วย ปุ่มตัวหนังสือ ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด 104 ปุ่ม
สำหรับ คีย์บอร์ด 102/105 ปุ่มโดยทั่วไปของสากลจะมีปุ่ม “ชิฟท์ซ้าย (Left Shift)” ขนาดเล็กกว่า และเพิ่มปุ่มสำหรับสัญลักษณ์บางตัวเข้าไปบริเวณนั้น

-คีย์บอร์ด ที่มีปุ่มพิเศษ เช่น มัลติมีเดียคีย์บอร์ด (Multimedia Keyboard) จะมีปุ่มพิเศษสำหรับเล่นเพลง เปิดเว็บไซต์และโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยอื่นๆ
นอกจากนั้นส่วนใหญ่ยังมีปุ่มสำหรับควบคุมความดังของเสียง ปุ่มปิด/เปิดเสียง

-คีย์บอร์ดขนาดเล็ก ถูกผลิตขึ้นมาสำหรับแล็บท็อป (Laptop) พีดีเอ (PDA) โทรศัพท์มือถือ หรือผู้ใช้ที่มีเนื้อที่ทำงานจำกัด
การจะลดขนาดของคีย์บอร์ดอาจจะทำ โดยการตัดส่วนของแผงตัวเลขออก หรืออาจจะลดขนาดของปุ่ม ซึ่งจะทำให้การพิมพ์ข้อความทำได้ยากขึ้น
อีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดขนาดของคีย์บอร์ดคือการลดจำนวนปุ่มโดยใช้การผสมปุ่ม (เช่นการกดหลายปุ่มพร้อมกัน)
นอก จากนี้ยังสามารถลดขนาดได้โดยใช้ปุ่มขนาดเล็ก และวางเรียงชิดกัน เช่น Thumbboard ซึ่งมักถูกใช้ในพีดีเอ (PDA) และ อัลตร้าโมบายพีซ ี(UMPC)

-คีย์บอร์ด ตัวเลข จะมีเฉพาะตัวเลข เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร จุดทศนิยม และปุ่มฟังก์ชั่นบางปุ่ม เช่น End, Delete โดยมาก
คีย์บอร์ดชนิดนี้จะถูกใช้ร่วมกับคีย์บอร์ดของแล็บท็อปหรือคีย์บอร์ดขนาด เล็กที่ไม่มีแผงปุ่มตัวเลข

รูปแบบการเรียงตัวของปุ่ม
สำหรับภาษาอังกฤษ รูปแบบ QWERTY เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากที่สุด
QWERTY (ออกเสียงว่า คิว-เวอ-ทิ) ได้ชื่อมาจากการเรียงตัวของแป้นอักษรแถวบนซ้ายสุด ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในยุคของเครื่องพิมพ์ดีดเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการติดขัดของก้านกระแทก
ต่อมา QWERTY ได้ถูกนำมาใช้กับคีย์บอร์ดแบบอิเล็กทรอนิคส์เนื่องจากความนิยม

สำหรับภาษาไทย รูปแบบ เกษมณี คือรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดเช่นกัน ต่อมา
สฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้วิจัยให้เห็นว่าแป้นพิมพ์แบบเกษมณีมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้ายมาก และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก
จึงได้คิดค้นแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติขึ้นมา โดยเฉลี่ยให้สองมือใช้งานเท่าๆกัน โดยไล่จากนิ้วชี้ไปหานิ้วก้อย สภาวิจัยแห่งชาติพบว่า
แป้นปัตตะโชติพิมพ์ได้เร็วกว่าเกษมณี25.8% และลดอาการปวดนิ้วได้


9.หน้าจอ


ใช้ แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ


1.จอภาพแบบซีอาร์ที



การ แสดงผลบนจอภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น มาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาของบริษัท ไอบีเอ็ม ในยุคต้นความต้องการของการแสดงผลส่วนใหญ่ยังเป็นแบบตัวอักษรโดยมีภาวะการทำ งาน (mode) แยกจากการแสดง กราฟิก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมากสามารถแสดงผลในภาวะกราฟิก เช่น ระบบปฎิบัติงานวินโดวส์ ต้องใช้ภาวะการแสดงผลในรูปกราฟิกล้วน ๆ ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดช่องหน้าต่าง หรือการแสดงผลได้ตามที่ต้องการ จอภาพจึงเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานในยุคปัจจุบัน 



ใน ยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโน โครม หรือ เอ็มดีเอ (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะภาวะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผลในภาวะกราฟิกก็ต้องเลือกภาวะการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียก ว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสีและกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย 
เมื่อ มีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM compatible) ไอบีเอ็มจึงต้องกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้ ต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผลวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่าแผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) หรือ เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) บางครั้งเรียกว่าโมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA) การแสดงผลแบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันต่อเนื่องมาและมีผลิตขึ้นมาใช้ กันมากมาย 
ต่อ มาบริษัทไอบีเอ็มเห็นว่าความต้องการทางด้านกราฟิกสูงขึ้น การแสดงสีควรจะมีรายละเอียดและจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพขึ้นอีกโดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การเพิ่มเติมจำนวนสียังไม่พอเพียงกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับ ระบบปฎิบัติการวินโดวส์และโอเอสทูไอบีเอ็มจึงสร้างมาตรฐานการแสดงผลที่มี ความละเอียดและสีเพิ่มยิ่งขึ้นเรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA) 
การ เลือกซื้อจอภาพจะตัองพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวปรับต่อซึ่งเป็นแผง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก (main board) และต่อสัญญาณมายังจอภาพ แผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการ มีภาวะการแสดงผลหลายแบบ เช่น 
ก. แผงวงจรโมโนโครมหรือแผงวงจรเอ็มดีเอ เป็นแผงวงจรที่ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรจำนวน 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร ขนาดความละเอียดของตัวอักษรเป็น 9x14 ชุด 
ข. แผงวงจรเฮอร์คิวลิสหรือแผงวงจรเอชจีเอ แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาด 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร เหมือนแผงวงจรเอ็มดีเอ แต่สามารถแสดงกราฟิกแบบสีเดียวด้วยความละเอียด 720x348 จุด 
ค. แผงวงจรอีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วยความละเอียดของตัวอักษรขนาด 9x14 จุดแสดงสีได้ 16 สี ความละเอียดของการแสดงกราฟิก 640x350 จุด 
ง. แผงวงจรวีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วย ความละเอียดของตัวอักษร 9x16 จุด แสดงสีได้ 16 สี แสดงกราฟิกด้วยความละเอียด 640x480 จุด และแสดงสีได้สูงถึง 256 สี 
จ. แผงวงจรเอ็กซ์วีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่ปรับปรุงจากแผงวงจรวีจีเอ แสดงกราฟิกด้วยความละเอียดสูงขึ้นเป็น 1,024x768 จุด และแสดงสีได้มากกว่า 256 สี 
เมื่อ ได้ทราบว่าตัวปรับต่อมีกี่แบบแล้ว คราวนี้มาดูมาตรฐานตัวเชื่อมต่อ (connector) ของตัวปรับต่อกับจอภาพบ้าง ตัวเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้มีแบบ 9 ขา ตัวเชื่อมต่อสำหรับแผงวงจรแบบ วีจีเอ และ เอสวีจีเอ เป็นแบบ 15 ขา การที่หัวต่อไม่เหมือนกันจึงทำให้ใช้จอภาพพร่วมกันไม่ได้ 
นอก จากตัวเชื่อมต่อและตัวปรับต่อแล้ว คุณภาพของจอภาพก็จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างมาก สัญญาณที่ส่งมายังจอภาพมีรูปแบบไม่เหมือนกัน สัญญาณของแผงวงจรแบบวีจีเอเป็นแบบแอนะล็อก สัญญาณของแผงวงจรแบบ เอ็มดีเอ ซีจีเอ เอชจีเอ อีจีเอ เป็นแบบดิจิทัล ข้อพิจารณาที่จะตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ คือ การแสดงผลจะต้องเป็นจุดเล็กละเอียดคมชัด ไม่เป็นภาพพร่าหรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน  ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะของการกราดตามแนวตั้งคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือแถวบน กับแถวกลางหรือแถวล่างต้องมีขนาดเท่ากันและคมชัดเหมือนกัน ภาพที่ปรากฎจะต้องไม่กระพริบถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มี่ ภาพไม่สั่งไหวหรือพลิ้ว การแสดงของสีต้องไม่เพี้ยนจากสีที่ควรจะเป็น 
พิจารณา รายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทะแยงมุมของจอ ว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเอแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด .28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด .33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณแถบความถี่จึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย 


2.จอภาพแปปแอลซีดี

จอภาพแปปแอลซีดี เป็น เทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลขยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ 

เมื่อ เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ผู้ผลิตแอลซีดีสามารถผลิตแผงแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถเป็นจอแสดงผล ของคอมพิวเตอร์ประเภทแล็ปท็อป โน้ตบุ๊ค และยังสามารถทำให้แสดงผลเป็นสี อย่างไรก็ตามจอภาพแอลซีดียังเป็นจอภาพที่มีขนาดเล็กแต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนา ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น 

จอ ภาพแอลซีดีที่แสดงผลเป็นสีต้องใช้เทคโนโลยีสูง มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อให้ควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพแอลซีดีจึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก 

จอ ภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบพาสซีฟแมทริกซ์ที่ใช้เพียงแรงดัน ไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอกตีฟแมทริกซ์ที่ใช้ ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสีเพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของแอกตีฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอกตีฟแมทริกซ์มีแนวโน้มที่เข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอา ร์ทีได้ 
จอ ภาพแบบแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบจะมีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที หากจอภาพแบบแอกตีฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้ การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ที ก็จะมีหนทางมากขึ้น 
ความ สำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่จะเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ที่อยู่ใน เงื่อนไขสองประการ คือ จอภาพแอลดีซีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัด ในอนาคตแนวโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก และเทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพแอลซีดีขนาด ใหญ่
10.การ์ดจอ
 AMD Radeon R7-R9 การ์ดจอตระกูลใหม่ สุดแรง สำหรับการ์ดจอ AMD Radeon รุ่น R7 และ R9 ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีการแสดงผลในการเล่นเกมส์ มุ่งเน้นสร้างความเสมือนจริงให้กับเกมส์ระดับ High-End ด้วยองค์ประกอบหลายด้าน อย่างเช่น ความละเอียดของภาพ, ภาพด้านลึก (Depth of Field) เรื่องแสงเงา และพื้นผิววัตถุภายในเกมส์ เป็นต้น
AMD RADEON R7-R9
อีกทั้ง ยังยกระดับและพัฒนาการ์ดจอให้ประมวลภาพดีขึ้น เริ่มจากออกแบบสถาปัตยกรรมแผงการ์ดจอใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพภาพเกมส์ที่ ดีขึ้น, พัฒนาเทคโนโลยี AMD Eyefinity รองรับหน้าจอ 3 จอเพื่อเพิ่มความสนุกอย่างเต็มเปี่ยม, รองรับการ์ดจอ 2 ตัว ด้วย AMD CrossFire, เพิ่มพลังการโอเวอร์คล๊อคด้วย AMD PowerTune นอกจากนี้ ยังรองรับหน้าจอแบบ 4K ที่เพิ่มความละเอียดภาพสูงสุด, เพิ่มระบบเสียงอันกระหึ่มแบบ Build-in บนการ์ดจอด้วย AMD TrueAudio, อัพเดตเทคโนโลยี DirectX 11.1 และเพิ่มเทคโนโลยี Mantle ปลดล๊อคความเสมือนจริงของเกมส์ด้วยเอนจิ้นเกมส์ Frostbite ของเกมส์ในเครือ EA ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ Battlefield 4, Mirror’s Edge เวอร์ชั่นรีเมค, Need for Speed Rivals, Dragon Age: Inquisition เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น